Tech &Tips

เทคนิคการทำให้เว็บติดอันดั
1. การทำ Search Engineการทำ Search Engine
ฟังเหมือนง่าย แต่ยากที่จะทำ แต่เป็นกลยุทธ์ที่จะทำให้คนเข้าเว็บไซต์ของเราได้เยอะที่สุดและดีที่สุด เพราะ 80% นั้นคนที่เข้าเว็บไซต์ของเรามาจาก Search Engine กันทั้งนั้น โดยการทำ เว็บไซต์ให้ Google รู้จักนั้น มีดังนี้
1.1 ใส่ Keyword ใน Title ของหน้าเว็บ
การใส่ keywords ใน title นี้จะช่วยทำให้ Search Engine ต่างๆ รู้ว่า เว็บเราทำเรื่องเกี่ยวกับอะไร มีผลกับการทำ adsense ด้วยนะ เพราะโฆษณาที่ปรากฏนี้จะอ่านจาก title นี้เป็นสำคัญทีเดียวตัวอย่างการใช้งาน :[title] keyword หลัก , keyword รอง , keyword อื่นๆ [/title] เป็นต้น
1.2 การใส่ Key Word ที่ต้องการในส่วนด้านบนของเว็บไซต์และการเน้นด้วยตัวหนาใส่ keywords ที่เราต้องการให้ระบบของ google จับไปว่า เว็บไซต์ของเราทำเรื่องเกี่ยวกับอะไรนั้น ก็ควรใส่ keywords นั้นๆ เป็นตัวหนา เป็น head1 head2 ยิ่งดีนะ เพราะ พวก search Engine ที่เข้ามาเก็บข้อมูลนั้นจะได้เข้ามาได้ง่ายๆ และรู้ว่า ทั้งเว็บนี้คือเรื่องอะไรตัวอย่างการใช้งาน : [H1] Keyword [/h1] หรือ [H2] Keyword [/H2]
ตัวอย่างการใช้งาน : [BODY][B] Keyword [/B][/BODY]
1.3 หลีกเลี่ยงการออกแบบเว็บไซต์ด้วย Flash หรือรูปภาพเยอะ
ไม่มีตัวหนังสือการทำเว็บไซต์ด้วยการมี flash หรือรูปภาพล้วนๆ นั้น Search Engine ต่างๆ เมื่อเข้ามาถึงเว็บไซต์เราแล้ว จะอ่านไม่ออกนะ ดังนั้น หลีกเลี่ยงการใช้ flash หรือรูปภาพ มีได้บ้างเล็กน้อย แต่อย่าทำทั้งเว็บ เพราะ Search engine มันอ่านได้แต่ตัวอักษรหรือ html ปกติเท่านั้น
1.4 หลีกเลี่ยงใช้ออกแบบเว็บไซต์ด้วยเฟรม
การใช้เฟรม ก็เป็นการออกแบบเว็บไซต์อีกแบบที่ Search Engine อ่านข้อมูลในเว็บไซต์เรา แล้วไม่เจอ ดังนั้น หลีกเลี่ยงการใช้นะ
1.5 ใช้ keyword ที่บริเวณ ลิงค์เชื่อมโยงมาตรฐาน (Standard Text Link)
คือการเชื่อมโยงในลักษณะ การใช้ Text link เป็นตัวเชื่อมโยง แล้วแทรก Keyword ผสมเข้าไปด้วยตัวอย่างการใช้งาน : [a href=http://www.basicstep.blogspot.com/] Keyword [/a]
1.6 ควรตั้งชื่อไฟล์รูปภาพ และใส่คำอธิบายให้กับภาพการตั้งชื่อไฟล์รูปภาพ และการใส่คำอธิบายให้กับภาพนั้น มีผลมากๆ กับการทำ AdSense เพราะระบบของ google จะวิ่งมาจับแม้กระทั่งชื่อรูปภาพที่เราใส่ลงไปด้วยนะ ว่าในเว็บเราเป็นเกี่ยวกับเรื่องอะไร เช่น เปิ้ลทำเรื่องดูดวง รูปภาพก็ควรเป็น horoscope-1.jpg เป็นต้น ไม่ใช่ ใช้ image1.jpg ค่ะ และเน้นย้ำรูปภาพด้วย keywords ซ้ำ ด้วย Alt ตัวอย่างการใช้งาน : [img src="images address" alt="Keyword"]
1.7 จด Domain name ด้วย Keyword
(Domain name register)การใช้ Keyword หลักของเว็บในการจด Domain name นั้นหากทำได้ดีถือว่ามีชัยไปกว่าครึ่งแล้ว เพราะระบบ AdSense จะมองที่ domain เป็นสำคัญตัวอย่างการใช้งาน : http://www.basicstep.blogspot.com/
1.8 เรียก Robot เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์เราสามารถเรียก robot ของ google ให้เข้ามาเยี่ยมชมที่เว็บไซต์เราได้โดย เข้าไปที่ http://www.google.com/addurl/ เพื่อ add ชื่อเว็บไซต์ของเรา เพื่อให้ google เข้าไปเก็บข้อมูลและเนื้อหาของเราและใส่ เว็บไซต์ของเราลงไปในฐานข้อมูลของ google
1.9 แลกลิงค์กับเว็บไซต์อื่นๆ
อันนี้คงแทบไม่ต้องบอกกันเลยมั๊งค่ะ ว่าจะต้องทำอย่างไรบ้าง?? เพราะเป็นวิธีที่นิยมกันมามากแล้ว คือ ไปติดต่อกับเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อขอแลกลิงค์กับเว็บไซต์นั้นๆ เมื่อมีผู้เข้าชมที่เราแลกลิงค์ด้วย เขาก็อาจจะแวะเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราเช่นกัน ข้อควรระวัง : ควรแลกลิงค์กับเว็บไซต์ที่ถูกกฎหมายและศีลธรรมนะคะ คือไม่ควรแลกลิงค์กับเว็บไซต์ ลามก, อบายมุขทั้งหลาย เพราะเราอาจจะติดร่างแห เข้าร่วมวงดนตรี “google ban” ได้ง่ายๆ
1.10 ทำ Site Map ให้กับเว็บไซต์ของคุณ
การทำ Site Map นี้ จะช่วยให้ เมื่อระบบของ google วิ่งมาในเว็บไซต์เราแล้ว รู้ว่า ควรจะไปทางไหน เหมือนกับเป็นแผนที่นำทาง พา google ไปเยี่ยมชมเว็บไซต์เราให้ครบทุกจุด

2. การเพิ่ม link
การเพิ่ม link เป็นหลักสำคัญมากอีกส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้มีคนรู้จักเว็บไซต์ของเรา โดยที่การเพิ่ม link มีอยู่ 2 แบบ คือ การแลกลิงค์ (Link Exchange) และ การทำ one way link การแลกลิงค์ (Link Exchange) ก็อย่างที่เราทราบๆ กันดีนะว่า ส่งไปขอให้เว็บไซต์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรา ส่ง link มาให้เรา และทางเว็บไซต์ของเราเองก็ส่ง link กลับไปให้ทางเว็บไซต์ของเขาด้วยเช่นกันส่วนการทำ one way link นั้น ถ้าแปลกันตรงๆ ก็คือ ทำ link ทางเดียว ด้วยการที่ ทำอย่างไรก็ได้ ให้เขาส่ง link ให้เรา แต่เราจะไม่ส่ง link กลับไปให้ทางเว็บไซต์นั้นๆ ที่ส่งมาให้ เช่น การที่เว็บของเรามีเนื้อหาที่ดี ก็จะมีบางเว็บไซต์นำ link ของเราไปติดที่เว็บไซต์ของเขา โดยที่เราไม่ต้องร้องขอค่ะ ซึ่ง link ที่ได้มานี้ จะทำให้เว็บเราได้รับคะแนนจาก google ดีขึ้น และช่วยในการทำ SEO เป็นอย่างดีทีเดียว
3. การทำ E-mail Ads
การทำ E-mail Ads นั้น ก็คือ การทำโฆษณาผ่านทาง e-mail นั่นเอง แต่ส่วนใหญ่เมล์ลักษณะนี้ เป็นลักษณะของการทำ spam mail ซะส่วนใหญ่ ทำให้ไม่น่าเชื่อถือ เท่าที่ควร ถ้าเราไม่ทำการ spam mail แล้วล่ะก็ การทำ e-mail ads นั้น ถือว่า เป็นการโปรโมทเว็บไซต์ของเราที่ได้ผลดีที่สุดเลยทีเดียว ส่วนการทำ E-mail ads นั้น ก็สามารถเริ่มทำได้จากการที่ทำหน้า ให้รับ newsletter ที่หน้าเว็บไซต์ของเราเอง ข้อมูลของสมาชิกที่เข้ารับ newsletter จากเรานั้น ก็จะถูกเก็บเป็นฐานข้อมูล เพื่อใช้ในการโปรโมทเว็บไซต์ของเราในเว็บที่สร้างใหม่ได้เรื่อยๆ
4. การทำ signature
การทำ Signature นั้น เป็นลักษณะของการทำ One way link อีกแบบหนึ่งเช่นกัน เราสามารถทำ signature ได้ง่ายๆ ด้วยการทำ signature ใน e-mail ของเราเอง เพราะเมล์บางฉบับที่เรา fwd ต่อๆ กันไปนั้น อาจจะมีคนสนใจแล้วเขามาที่เว็บไซต์เราก็เป็นได้ หรือ อาจจะทำ signature ตาม web board ต่างๆ ที่มีกันอยู่อย่างมากมาย เมื่อเราโพสบ่อยๆ เข้า link ก็จะสร้างขึ้นมาเรื่อยๆ ถือว่าการทำ signature นี้ เป็นการสร้าง link ให้กับเว็บไซต์ของเราได้เป็นอย่างดี อีกทั้ง ทำให้คนในเว็บบอร์ดนั้นๆ รู้จักและเข้าเว็บไซต์ของเรามากยิ่งขึ้น
5. การใช้สื่อ offline
อย่าลืมสื่อ offline ทีเดียวนะ เพราะสื่อ offline ให้ผลทาง online ได้ดีทีเดียว โดยสื่อ offline ที่เป็นที่นิยมกันมากคือ การโฆษณาผ่านหนังสือพิมพ์ แต่สื่อเหล่านี้ ต้องใช้เงินลงทุนค่อนข้างมาก ดังนั้น อาจจะทำในสื่อ offline แบบอื่นๆ เช่น ที่คั่นหนังสือ ทำสติกเกอร์ติดรถ หรือ ใส่เสื้อที่มีชื่อเว็บไซต์ของเราเอง เพราะให้หลายๆ คนมองเห็นและคุ้นตากับชื่อเว็บไซต์เราได้มากที่สุด
6. การลงโฆษณาผ่านสื่อต่างๆ
การลงโฆษณาผ่านสื่อต่างๆ อันได้แก่ โทรทัศน์ วิทยุ ต่างๆ พยายามพูดถึงเว็บไซต์ของเราบ่อยๆ จะทำให้ผู้ฟัง คุ้นหู คุ้นตาได้เป็นอย่างดี
7. อื่นๆ
การโฆษณาประเภทสุดท้ายนี้ คือ การทำอย่างไรก็ได้ให้คนอื่นรู้จักเว็บไซต์ของเรา ง่ายๆ เลย ก็คือ การบอกเล่า ปากต่อปาก ซึ่งวิธีการนี้ เป็นการโฆษณาเว็บไซต์ของ google ที่มีชื่อเสียงได้อย่างปัจจุบัน

เทคนิคการเลือก Hosting
เว็บโฮสติ้ง คือ บริการให้เช่าพื้นที่ รับฝากเว็บไซต์บนเว็บเซิร์ฟเวอร์ โดยปกติแล้วการที่จะมีเว็บไซต์ได้นั้น จะต้องมีระบบเว็บเซิร์ฟเวอร์เป็นของตนเอง อย่างไรก็ตามการที่ทุกเว็บไซต์ต้องติดตั้งเว็บเซิร์ฟเวอร์จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการติดตั้งเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่สูงมากและต้องมีผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลระบบตลอดเวลา การใช้งานแบบนี้จะเหมาะกับองค์กรขนาดใหญ่ และธุรกิจที่มีงบประมาณมาก การติดตั้งเซิร์ฟเวอร์เป็นของตนเอง สำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กแล้ว การมีเว็บไซต์ในลักษณะนี้จะถือว่าเป็นการลงทุนที่สูงเกินไปทำให้มีผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งเข้ามาสนับสนุนระบบเว็บเซิร์ฟเวอร์ให้กับผู้ที่ต้องการมีเว็บไซต์ โดยผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งหรือ Hosting Service Provider จะให้บริการรับฝากเว็บไซต์ให้กับองค์กรขนาดกลางและเล็กพร้อมทั้งให้บริการดูแลด้านระบบเว็บเซิร์ฟเวอร์ให้กับเว็บไซต์ที่มาใช้บริการเพื่อให้สามารถออนไลน์ได้ตลอดเวลา ผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งจะคิดค่าบริการจากค่าเช่าพื้นที่
ราคาของเว็บโฮสติ้งขึ้นอยู่กับขนาดพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูล เจ้าของเว็บไซต์ต้องพิจารณากำหนดขนาดพื้นที่เว็บไซต์ของตนว่าควรมีขนาดเท่าใดและควรมองไปถึงโอกาสการขยายพื้นที่ในอนาคต การคำนวณขนาดพื้นที่เว็บไซต์ที่ต้องการใช้การประมาณจาก จำนวนหน้าของเว็บไซต์ที่ต้องการ เช่นต้องการ 50 หน้า และประมาณการว่าแต่ละหน้าประกอบด้วยเนื้อหาและรูปภาพจำนวนเท่าไร ตามปกติเนื้อหาจะใช้พื้นที่ไม่มากแต่รูปภาพจะใช้พื้นที่มาก หากต้องการมีรูปภาพแต่ละหน้า 10 รูป รวมทั้งเว็บไซต์มี 500 รูป แต่ละรูปให้มีขนาดภาพไม่เกิน 100KB (เพียงพอสำหรับการทำเว็บไซต์ให้สวยงาม และแสดงผลได้เร็ว) จึงใช้พื้นที่รวม 50MB เมื่อเผื่อพื้นที่สำหรับเนื้อหาและการขยายในอนาคตอีก 1 เท่า จึงประมาณการพื้นที่รวม 100MB เป็นต้น
ปริมาณข้อมูลที่รับ ส่ง หรือ Bandwidth หมายถึงข้อมูลการรับ ส่ง ระหว่างผู้เข้าชมเว็บไซต์ ซึ่งตามปรกติแล้ว ปริมาณข้อมูล Bandwidth จะไม่แน่นอน ดังนั้นจึงควรเลือกผู้ให้บริการที่ไม่จำกัด Bandwidth แต่ราคาจะสูงกว่ารายที่จำกัด Bandwidth พิจารณาจาก Application ต่าง ๆ ผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งบางราย มีข้อจำกัดในเรื่องการใช้ Application บนเว็บไซต์ ดังนั้น จึงต้องพิจารณาว่า Applicationที่เจ้าของเว็บไซต์ต้องการนำมาพัฒนาเว็บไซต์นั้น สามารถใช้ได้กับเว็บโฮสติ้งรายใดบ้าง พิจารณาความเร็วในการรับ ส่งข้อมูล เว็บโฮสติ้งที่ดีจะต้องสามารถรับ ส่ง ข้อมูลได้รวดเร็ว และรองรับการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายอินเตอร์เน็ตทั้งใน และต่างประเทศได้ พิจารณาความน่าเชื่อถือของผู้ให้บริการ ซึ่งมีความสำคัญมาก โดยผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งที่มีคุณภาพจะคอยดูแลเว็บไซต์ที่อยู่บนเว็บโฮสติ้งนั้นให้มีจำนวนที่เหมาะสม และผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าถึงได้ตลอดเวลาด้วยความรวดเร็ว
ระบบสำรองข้อมูล เว็บโฮสติ้งที่ดีจะต้องมีระบบสำรองข้อมูล เพื่อป้องกันกรณีฉุกเฉิน ที่ก่อให้เกิดความเสียหายของข้อมูลในเว็บไซต์ การสำรองข้อมูลตามปรกติจะพิจารณาจากความถี่ในการเก็บข้อมูล และรูปแบบเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น สำรองข้อมูลทุกวันแบบครบทุกข้อมูลหรือสำรองข้อมูลทุกวันในบางข้อมูลหรือสำรองข้อมูลทุกเดือนในบางข้อมูลเเป็นต้น
โดเมนเนม ปรกติแล้วการให้บริการเว็บโฮสติ้ง มักคิดค่าให้บริการโดเมนเนมรวมไปด้วย จึงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะนำมาพิจารณาเปรียบเทียบเพราะหากไม่รวมค่าบริการโดเมนเนมผู้ใช้บริการเว็บไซต์จะต้องเสียค่าบริการโดเมนเนมเพิ่ม
ระบบอีเมล ตามปรกติแล้ว เจ้าของเว็บไซต์จะสร้าง หรือไม่สร้างอีเมลของระบบเว็บไซต์ก็ได้ แต่การมีทีมีอีเมลของระบบเว็บไซต์ตนเองย่อมสร้างความน่าเชื่อถือได้มากกว่าการใช้ฟรีอีเมล ตัวอย่างเช่น เว็บไซต์ชื่อ abc.com หากเจ้าของเว็บไซต์สร้างระบบอีเมลของตนเองก็สามารถใช้ชื่อ email เป็น info@abc.com หรือ sale@abc.com ฯลฯ ตามความต้องการของเจ้าของเว็บไซต์ ราคาของ hosting ขึ้นกับจำนวน email account ที่ต้องการและพื้นที่รวมของemailaccountทั้งหมด
ปัจจัยต่าง ๆ ข้างต้น เป็นสิ่งที่เจ้าของเว็บไซต์ควรจะพิจารณาก่อนตัดสินใจเลือกใช้บริการเว็บโฮสติ้งกับผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งรายใด นอกจากนั้น จะต้องพิจารณาความน่าเชื่อถือของผู้ให้บริการว่าจะสามารถดูแลระบบได้อย่างดีหรือไม่เนื่องจากมีผู้ให้บริการรายใหม่ ๆ ที่ไม่ได้ทำธุรกิจอย่างจริงจังเข้ามาในตลาดจำนวนมาก ค้นหาผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้ง ได้จากการ search คำว่า Web hosting หรือคำใกล้เคียงกันใน Search Engine

เทคนิคการสร้างเมนูในพื้นที่ด้านล่างของเว็บไซต์
  1. Login เข้าสู่ส่วนสมาชิก คลิก จัดการกลุ่มบทความ/บทความ จากนั้น คลิก เพิ่มบทความใหม่
  2.
ใส่ข้อความที่ต้องการสร้างเป็นเมนูหลักในพื้นที่ด้านล่างของเว็บไซต์  ในส่วนของเนื้อหาของบทความ
  3.
ให้ท่านทำการ Copy Url ของปลายทางที่จะลิงค์ไป เช่น ต้องการให้ลิงค์ไปหน้าแรกของเว็บไซต์
ให้ท่านเปิดหน้าแรกของเว็บไซต์ หลังจากนั้นทำการ Copy Url
  4.
หลังจาก Copy URL ให้กลับมาไฮไลท์ข้อความที่ต้องการสร้างลิงค์ คลิกที่เครื่องมือ (Hyperlink in Text) เพื่อสร้างลิงค์
  5.
ปรากฎหน้าต่าง Link -- Webpage Dialog วางลิงค์ Url ที่ Copy มาในช่อง URL จากนั้นคลิก OK
  6.
ทำการสร้างลิงค์เมนูที่เหลือ  ตามขั้นตอนในข้อ 4 และ 5 จนครบทุกเมนู  จากนั้นให้ท่านคลิกที่เครื่องมือ  ( View HTML Source ) แล้ว Copy HTML Code ที่ปรากฎ
  7.
จากนั้นเลือก พื้นที่ด้านล่างของเว็บไซต์ วาง Code ที่ Copy ไว้ ในพื้นที่ด้านล่างของเว็บไซต์ แล้วคลิก ตกลง
  8.
แสดงเมนูในพื้นที่ด้านล่างของเว็บไซต์ที่สมบูรณ์